ลายไทย(๒) |
ลายไทยหน้าบันโบสถ์ - วิหาร เป็นแบบลายก้านขดบรรจุในรูปสามเหลี่ยม ออกลายด้วยภาพไทยเทพพนม ครึ่งตัว พึงสังเกตการณ์วางเถาของลายก้านขด และการออกเถาของลายต่อๆ ไป มีรูปทรงขมวดก้นหอยโดยตลอด ยอดของลายที่อยู่ที่สูงสุดตรงปลายมีกนกทำนองสองข้างชูช่อกระจังหู
ศิลปะในการแยกเถาของลายบางตอนใช้ตาลาย และบางตอนก็ใช้เศียรพญานาคที่มีทรงแปลกๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้ลายนี้ดูแล้วไม่จืดตา ลายนี้เหมาะสำหรับโกรกแกะสลักไม้เป็นลายหน้าโบสถ์ ก็จะงดงามมาก
โครงสร้างโบสถ์ - วิหาร - ปราสาท - ราชวัง ในรูปแบบสถาปัตยกรรม
ประกอบด้วยโครงสร้างหลักดังนี้ |
|
๑. ช่อฟ้า ๒. ใบระกา (ใบโพธิ์-ดอกบัว) ๓. อกไก่ ๔. แปลาน ๕. แปวง ๖. ตัวนาคสะดุ้ง ๗. หัวหงส์ ๘. บังนก ๙. ลายไทยประดับหน้าบัน ๑๐. เชิงกลอน ๑๑. แปหัวเสา ๑๒. กระจังประกอบหน้าบัน ๑๓. ลายหน้ากระดาน ๑๔. กระจังรวน ๑๕. แผงแร ( คอสอง ) |
๑๖. คูหา ๑๗. บัวปากเสา ( ปลายเสา ) ๑๘. ลายหน้าอุดปีกนก ๑๙. แผงแล ( คอหนึ่ง ) ๒๐. พุก ๒๑. สะพานหนู ๒๒. ตีนผี ( เดือย ) ๒๓. แปปลายเต้า ๒๔. เชิงแป ๒๕. ลายหน้าอุดเต้า ๒๖. เต้า ๒๗.ท้าวแขน ( คันทวย ) |
จำนวนผู้เข้าชม ::
|
ลายไทย(๒) |