บอร์ดแถลงข่าว
 
ผลงานปัจจุบัน และ ผลงานการออกแบบที่ผ่านมา
สกุลช่าง
 
 
ลายไทย
 
บ้านพักอาศัย 2 ชั้น
พระประธานวัดพญากำพุช
 
 
 

โครงการสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเมตตา
สมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเมตตา
การประชุม
การตรวจสอบดิน
LOG OF BORING
ความคืบหน้า
วัดเทพประทานพร 30/03/54
แบบก่อสร้าง
บริษัท พร้อมมิตรฯ
ขออนุญาตเชิญตราสัญลักษณ์
สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ร่วมสมัย
 
 

โครงการแปลพระสูตรมหายาน
จีน-ไทย เฉลิมพระเกียรติ
โครงการแปลพระสูตรมหายาน
โครงการแปลพระไตรปิฎก
 
 

โครงสร้างอัจฉริยะพันปี ฯ.
บรรยายประกอบหนังสือ
 
 
 

การจัดสร้างเหรียญพระสองหน้า
งานบุญกุศลร่วมสร้างเหรียญ
ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างเหรียญ
รายชื่อคณะกรรมการ
ประชุมที่วัดบ้านไร่
รายงานการประชุม
สั่งจองเหรียญสองพลัง
วัดบ้านไร่รับรองการสร้างเหรียญ
งานแถลงข่าวเหรียญสองพลัง
แถลงข่าว 15 ก.ค. 55
ต้นแบบเหรียญพระสองหน้า
กำหนดพิธีพุทธาภิเษก
กระแสข่าว กระแสธรรม 24 ส.ค. 55
งานพุทธาภิเษกวัดบ้านไร่
 
 

รักเธอประเทศไทย
พิธีเชิญมหาโพธิสัตว์กวนอิม
งานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
 

ศิลปะ
ศิลปะกอธิก
ศิลปะเกรโก - โรมัน
ศิลปะโรมัน
ศิลปะโรมาเนสก์
ศิลปะบาโรก
ศิลปะโรโกโก
ศิลปะไมโนน
ยุคที่สี่ของศิลปกรรมกรีก
ศิลปะไซคลาดิก
ศิลปะแบบอย่าง นาซารีนส์
สำนักศิลปะด้านทัศนศิลป์
 

เยาวชนก้าวหน้าอย่างมีสุข
เยาวชนก้าวหน้าอย่างมีสุข 2
กรุงเทพกับวิธีคิดเวนิสตะวันตก
ภัยพิบัติที่เหนือการคาดการณ์
ภัยพิบัติกับความอยู่รอดของโลก
โครงการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
สังฆปทีป
"กระแสข่าวกระแสธรรม"
วิกฤติที่เกินความคาดเดา
 
 

 

Share 

 

จำนวนผู้เข้าชม
AmazingCounters.com 


 
 
องค์พระพุทธรูป วัดเทพประทาน
วันที่ 4 ตุลาคม 2553
 
         การเจาะสำรวจดินและหินสำหรับโครงการองค์พระพุทธรูป วัดเทพประทาน   อำเภอเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทำการเจาะสำรวจจำนวน 6 หลุมประกอบด้วยหลุม BH-1 ถึง 5 และ BH-4/1 ความลึกประมาณ 5-22 เมตรจากระดับผิวดิน สำหรับตำแหน่งหลุมเจาะที่แน่นอนถูกกำหนดในสนามโดยผู้ว่าจ้าง พื้นที่โครงการเป็นเนินเขา บริเวณก่อสร้างองค์พระพุทธรูปได้มีการปรับพื้นที่เป็นที่ค่อนข้างราบเรียบ   
          
การเจาะสำรวจและทดสอบในสนาม

          การเจาะสำรวจได้กระทำโดยใช้เครื่องเจาะชนิด Rotary วิธีการเจาะในช่วง 1-2 เมตรแรก ใช้วิธีการเจาะโดยใช้ Auger และที่ระดับลึกลงไปใช้วิธีเจาะแบบ Rotary Drilling จนกระทั่งสิ้นสุดการเจาะสำรวจ ขณะทำการเจาะได้ใช้ปลอกเหล็ก (Casing) และน้ำผสม Bentonite ใส่เพื่อป้องกันหลุมพัง

          การเก็บตัวอย่างดิน ได้เก็บตัวอย่างแบบเปลี่ยนสภาพ (Disturbed Sample) โดยใช้กระบอกผ่าซีกมาตรฐาน พร้อมกับทำการทดสอบ Standard Penetration Test (SPT) ตามมาตรฐาน ASTM D 1586 การเก็บตัวอย่างได้กระทำที่ระดับความลึก 1.0, 1.5, 2.0, 3.0 เมตร และทุกๆ ระดับความลึก 1.5 เมตร จนสิ้นสุดการเจาะสำรวจ

          การทดสอบ SPT กระทำโดยการตอกกระบอกผ่าซีกมาตรฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 34.9 มม. ภายนอก 50.8 มม. เพื่อเก็บตัวอย่าง การตอกใช้ตุ้มหนัก 63.5 กก. ยกสูง 76 ซม. นับจำนวนครั้งที่ตอกซึ่งทำให้กระบอกผ่าจมลงไปในดินได้ 45 ซม. ถือจำวนครั้งที่ตอกในระยะ 30 ซม. หลังเป็นค่า SPT N VALUE มีหน่วยเป็นครั้ง/30 ซม. ซึ่งค่านี้จะบอกความแน่นหรือกำลังของดินได้อย่างคร่าวๆ

          นอกจากนั้นได้หากำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวในสนามโดยใช้ Pocket Penetrometer ด้วย

          ที่หลุม BH-1 และ 3 ได้เจาะถึงชั้นหน้าหินและได้ Core เก็บตัวอย่างหินหนา 5 เมตรโดยใช้หัวเจาะเพชร (Diamond Core Bit) ชนิด NMLC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52 มิลลิเมตร
 
การทดสอบในห้องปฏิบัติการ

           ตัวอย่างดินที่ได้จากสนาม จะถูกนำมาทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติของดินต่อไป การทดสอบ ประกอบด้วย
1.หาความชื้นในมวลดินตามธรรมชาติ (Natural moisture content)
2.หาความหนาแน่น (Density) ของตัวอย่าง Core หิน
3.ทดสอบ Atterberg limits เฉพาะบางตัวอย่างดินเหนียว
4.ทดสอบ Sieve analysis เฉพาะบางตัวอย่างดินทราย
5.ทดสอบหา Compressive Strength ของตัวอย่าง Core หินโดยการทำ Unconfined Compression Test

           วิธีการทดสอบกระทำตามมาตรฐาน ASTM
 
ลักษณะชั้นดิน
ลักษณะชั้นดินและหินทั่วไป (Typical Subsoil) สามารถอธิบายเทียบกับความลึกดังนี้
หลุม BH-1, 2, 3
ความลึก, เมตร
ชนิดของดิน
SPT N VALUE
BH-1
BH-2
BH-3
 
ครั้ง/ฟุต
0 - 1.0
0 - 1.0
0 - 1.0
ดินลูกรัง
-
1.0 - 2.0
1.0 - 1.5
-
ทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นปาน-
กลางถึงแน่น
12 - 31
-
1.5 - 2.0
1.0 - 1.5
ดินเหนียวปนทรายแข็งมาก
20
-
-
1.5 - 3.0
ทรายปนดินเหนียวหลวม
8 - 10
-
2.0 - 4.5
3.0 - 6.0
ทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นปาน-
กลางถึงแน่น
11 - 42
2.0 - 12.0
4.5 - 13.53
6.0 - 17.0
ทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นมาก
90/12" - 50/1"
12.0 - 13.5
-
-
ทรายปนดินเหนียวแน่นปานกลาง
28
13.5 - 15.0
-
-
ทรายปนดินเหนียวแน่นมาก
50/3" - 50/0"
15.0 - 20.0
-
17.0 - 22.0
หิน Rhyolite
50/0"
 
หลุม BH-4, 4/1, 5
ความลึก, เมตร
ชนิดของดิน
SPT N VALUE
BH-4
BH-4/1
BH-5
 
ครั้ง/ฟุต
0 - 1.0
0 - 1.0
0 - 1.0
ดินลูกรัง
-
1.0 - 3.0
1.0 - 3.0
-
ทรายปนดินเหนียวหลวมถึงหลวมมาก
12 - 31
3.0 - 4.5
-
-
ดินเหนียวปนทรายแข็งปานกลาง
5
-
3.0 - 4.5
1.0 - 2.0
ทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นปาน-
กลาง
14 - 22
-
2.0 - 4.5
3.0 - 6.0
ทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นปาน-
กลางถึงแน่น
11 - 42
4.5 - 5.0
4.5 - 10.97
2.0 - 13.5
ทรายหรือกรวดแน่นมาก
82/11" - 50/1"
> 5.0
> 10.97
> 13.5
ชั้นหน้าหินหรือหินลอย?
50/0"
 
ระดับน้ำใต้ดิน
           ระดับน้ำใต้ดินวัดในหลุมเจาะ 24 ชั่วโมงภายหลังเสร็จสิ้นการเจาะมีค่าระหว่าง 4.5 - 10.3 เมตร ต่ำกว่าระดับผิวดินปากหลุมเจาะ

           อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำใต้ดินที่วัดได้นี้อาจจะไม่ใช่ระดับน้ำใต้ดินที่แท้จริง โดยอาจจะเป็นน้ำผสม Bentonite ที่เหลือค้างอยู่ในหลุมเจาะ ระดับน้ำใต้ดินสามารถแปรผันได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละฤดูกาล
 
ข้อเสนอแนะ
            จากข้อมูลเจาะสำรวจดิน 6 หลุมเจาะสำหรับโครงการองค์พระพุทธรูป ขนาด 35 x 35 x 50 เมตร น้ำหนักประมาณ 700 ตัน วัดเทพประทาน อำเภอเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สามารถให้ข้อเสนอแนะดังนี้
           1) ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) สามารถนำมาพิจารณาใช้กับโครงการนี้
           2) แนะนำฐานรากแผ่ (Spread Footing) วางบนชั้นทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นมาก (Very Dense Clayey Sand or Clayey Gravel)
           3) เนื่องจากชั้นทรายหรือกรวดปนดินเหนียวแน่นมากถูกพบที่ต่างระดับความลึก, ดังนั้นแนะนำค่ากำลังรับน้ำหนักแบกทานปลอดภัยของดิน (Allowable Soil Bearing Capacity) สำหรับฐานรากสี่เหลี่ยมจัตุรัสเทียบกับความลึกของแต่ละหลุมเจาะ ดังนี้
หลุมเจาะ
ความลึก* , เมตร
ค่า SPT N VALUE
น้ำหนักแบกทานปลอดภัยของดิน
ตัน/ตร. เมตร
BH-1
2.0
92/9"
20
BH-2
4.5
90
20
BH-3
6.0
50/6"
20
BH-4
4.5
50/4"
20
BH-4/1
4.5
50/1"
20
BH-5
2.0
82/11"
20
*ความลึกของฐานรากแผ่เทียบกับผิวดินปากหลุมเจาะขณะทำการเจาะสำรวจ
 
          4) จากความแปรปรวนของชั้นดิน ดังนั้นระหว่างขุดดินทำฐานรากแผ่ ต้องมีวิศวกรผู้มีประสบการณ์คอยตรวจสอบตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าฐานรากแผ่วางบนชั้นทราย หรือกรวดปนดินเหนียวแน่นมาก และไม่มีชั้นทรายหลวมหรือดินเหนียวอ่อนร่วนอยู่ใต้ฐานรากแผ่ ซึ่งมีผลให้ค่ากำลังรับน้ำหนักแบกทานปลอดภัยของดินลดลง จากที่แนะนำ และควรระวังน้ำภายนอกซึ่งอาจจะไหลเข้ามาในหลุมฐานรากซึ่งจะทำให้ดินใต้ฐานรากสูญเสียกำลัง และมีค่ากำลังรับน้ำหนักแบกทานปลอดภัยของดินลดลงเช่น

         5) แนะนำให้ขุดหลุม Trial Pits เพื่อยืนยันความลึกถึงชั้นทรายหรือกรวดแน่นมากก่อนทำฐานรากแผ่ และควรทดสอบ Plate Bearing Tests เพื่อยืนยันน้ำหนักแบกทานปลอดภัยของดินที่ใช้ออกแบบ
 
รายการทั่วไป
           ในอาคารเดียวกันปลายฐานรากควรจะอยู่ในสภาพชั้นดิน และคุณสมบัติของการทรุดตัวเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัวของอาคาร อันสืบเนื่องจากลักษณะการทรุดตัวของชั้นดินที่รองรับฐานรากแตกต่างกัน

           ความลึกเสาเข็มที่แน่นอน จะต้องตรวจสอบด้วยค่า Blow Count ในขณะที่ตอกเทียบกับต้นที่ใกล้จุดเจาะสำรวจดินและจุดการทดสอบเสาเข็ม

           สำหรับฐานรากแผ่ ความลึกแน่นอนจะต้องตรวจสอบกับสภาพชั้นดินขณะทำการขุด เพื่อที่จะวางฐานรากบริเวณตำแหน่งเฉพาะนั้นอย่างละเอียด โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์เท่านั้นและควรจะบดอัดดินเดิม ก่อนที่จะมีการเทฐานรากบนชั้นดินนั้น เพื่อให้ความแน่นของชั้นดินที่รองรับฐานรากเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

           ถ้ากำลังแบกทาน (Bearing Capacity) ของชั้นดินเพื่อรับฐานรากแผ่ไม่มากพอและจำเป็นต้องใช้ฐานราก ขนาดใหญ่มากเพื่อรับน้ำหนักเสา ขนาดของฐานรากควรจะได้มีการทดสอบว่า จะใหญ่จนไปชิดกับฐานรากตัวถัดไปที่อยู่ข้างเคียงหรือไม่ โดยทั่วไปถ้าพื้นที่ของฐานรากรวมกันแล้วมากกว่าครึ่งของพื้นที่ที่จะก่อสร้างทัังหมดแล้ว ฐานรากรวม (mat foundation) ควรจะออกแบบเพื่อใช้รับน้ำหนักของอาคารทั้งหมดแทนฐานรากเดี่ยว (isolate footing)

          สภาพดินและคำแนะนำดังกล่าว ยึดถือจากข้อมูลที่ได้จากการเจาะสำรวจที่บริเวณสภาพดินระหว่างหลุมเจาะ อาจมีความแตกต่างไป ฉะนั้นควรมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางปฐพีกลศาสตร์ของดินคอยตรวจสอบประจำ ระหว่างลงมือทำฐานราก เพื่อให้ผู้รับเหมาสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำที่ให้ไว้ และหากข้อมูลต่างๆที่ได้รับไม่ถูกต้องทางผู้ออกแบบหรือผู้ว่าจ้างควรจะแจ้งให้ทางบริษัทฯ ทราบทันที เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามความเหมาะสมต่อไป

         ***ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางสำหรับวิศวกร ผู้คำนวณงานฐานรากของอาคารและโครงสร้างต่างๆ สามารถใช้ค่าความต้านทานรับน้ำหนักของดิน และแรงเสียดทานของเสาเข็มได้อย่างถูกต้อง และใกล้เคียงที่สุดทำให้ประหยัด ปลอดภัย และทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจในความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างเหล่านี้
 

การจำแนกและบรรยายลักษณะของดิน

การจำแนกลักษณะของดินตามขนาดขององค์ประกอบและคุณสมบัติ

ดินเหนียว
            ดินเหนียวซึ่งประกอบด้วยเมล็ดรูปแบนขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 0.002 มม.) มีคุณสมบัติปั้นได้ง่ายเนื่องจากมีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินมาก ขนาดของมวลรวมผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่า 50%

ดินซิลท์
            ดินที่มีเมล็ดหยาบกว่าดินเหนียว แต่ขนาดละเอียดกว่าเมล็ดของทราย (ระหว่าง 0.002 มม. ถึง 0.06 มม.)เข้าใกล้ทรายที่มีเมล็ดละเอียดมาก มีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินน้อยหรือไม่มี ปั้นได้ยากขนาดของมวลรวมผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่า 50%

ทราย
            ทรายมีเมล็ดที่หยาบเห็นได้ชัด (ระหว่าง 0.06 มม. ถึง 4.76 มม.) ไม่มุณสมบัติยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของทราย ปั้นไม่ได้ ขนาดมวลรวมผ่านตะแกรงเบอร์ 4 แต่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 200

กรวด
            กรวดเป็นเมล็ดหยาบมาก ขนาดใหญ่กว่าทราย (ระหว่าง 7.76 มม. ถึง 76.2 มม.) ขนาดของมวลรวมผ่านตะแกรงขนาด 3” แต่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 4


การบรรยายลักษณะและส่วนประกอบที่มีอยู่ในดิน
            ดินที่มีเมล็ดละเอียดมาก และแสดงคุณสมบัติยึดเกาะกันของดินเหนียว  เราจะเรียกดินชนิดนี้ว่า “ดินเหนียว” ถ้ามีดินชนิดอื่นมาปนเป็นส่วนประกอบที่เด่นชัด เราจะเรียกส่วนประกอบนี้ว่า “ปน”
ตัวอย่าง                 ดินเหนียวปนทรายส่วนประกอบของดินหรือสารชนิดอื่นที่ปลีกย่อยไม่เด่นชัดในดิน เราจะจำแนกตามขนาดและการเปลี่ยนสภาพของดินหรือสาร ตามเปอร์เซ็นต์ที่มีอยู่ดังนี้
            มี................................น้อยมาก                              1   ถึง  10%
            มี................................เล็กน้อย                               10 ถึง  20%
            มี................................น้อยมาก                              20 ถึง  35%
            และ                                                                         35 ถึง  50%

ตัวอย่าง                 ดินเหนียว ปนทราย มีกรวดเล็กน้อย มีรากไม้น้อยมาก

 

ดินเหนียว (ดินที่ยึดเกาะกันได้)

ความแข็ง           กำลังอัดเปลือย, qu (กก./ซม2)                 ค่าทะลุทะลวงมาตรฐาน, N จำนวนครั้ง 1 ฟุต

อ่อนมาก                                0.00 – 0.25                                                  0 – 2
อ่อน                                       0.25 – 0.50                                                  2 – 4
แข็งปานกลาง                        0.50 – 1.00                                                  4 – 8
แข็ง                                        1.00 – 2.00                                                  8 – 16
แข็งมาก                                 2.00 – 4.00                                                  16 – 32
ดินดานแข็งมาก                     มากกว่า 4.00                                               มากกว่า 32

 

ทราย (ดินที่ไม่ยึดเกาะกัน)

ความแน่นสัมพันธ์                                                           ค่าทะลุทะลวงมาตรฐาน, N จำนวนครั้ง/ฟุต

ร่วนมาก                                                                                                           0 – 4
ร่วน                                                                                                                 4 – 10
แน่นปานกลาง                                                                                                10 – 30
แน่น                                                                                                                30 – 50
แน่นมาก                                                                                                        มากกว่า 50

 

ความหมายของสัญลักษณ์

CH       -           ดินเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินมาก ปั้นได้ง่าย

OH      -           ดินเหนียวปนสารอินทรีย์ มีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินมากปั้นได้ง่าย

CL        -           ดินเหนียวปนทราย, ดินเหนียวปนกรวด, ดินเหนียวปนซิลท์ มีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินน้อยปานกลาง ปั้นได้

SC       -           ทรายปนดินเหนียว มีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินน้อยถึงปานกลาง ปั้นได้

SM      -           ทรายปนซิลท์ ไม่มีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดิน ปั้นไม่ได้

SW      -           ทรายปนกรวด ขนาดคละได้สัดส่วนกัน มีเมล็ดดินละเอียดน้อยมากหรือไม่มี ความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดิน ปั้นไม่ได้

SP       -           ทรายปนกรวด ขนาดคละใกล้เคียงกัน               แต่ไม่ได้สัดส่วน มีเมล็ดดินละเอียดน้อยมากหรือไม่มี ไม่มีความเหนียวยึดเกาะกันระหว่างเมล็ดของดินปั้นไม่ได้